ตั้งศาลพระภูมิหมู่บ้านทิพย์วัลย์สมุทรปราการ

การตั้งศาลพระภูมิในสมัยโบราณ อาจารย์ผู้รับเป็นเจ้าพิธี 

      การตั้งศาลต้องไปดูสถานที่จริงในการทำพิธี เพื่อที่จะกำหนดสถานที่ตั้งศาลพระภูมิให้ถูกต้อง อีกทั้งสถานที่ตั้งนั้นต้องเป็นสถานที่ ที่เหมาะสมไม่เป็นที่สกปรกหรือติดกับถังขยะ ห้องน้ำ หรือเป็นที่ที่ไม่มีกลิ่นเหม็น ไม่ตั้งศาลอยู่ใต้ชายคาบ้าน หรือใต้ต้นไม้ใหญ่ ไม่หันหน้าศาลตรงกับประตูบ้าน

     อาจารย์ผู้ทำพิธี ยังต้องดูทิศทางและตำแหน่งที่จะตั้งศาลที่เป็นมงคลอีกด้วย ถ้าเจ้าพิธีไปดูสถานที่แล้ว และไปกำหนดสถานที่ ที่ไม่เป็นมงคล ตามที่บอกมาแล้วในเบื้องต้น ก็จะทำให้ท่านเจ้าภาพได้รับแค่ความเดือดร้อน ยุ่งยากในภายภาคหน้า แต่ในสมัยนี้ยุคสมัยได้เปลี่ยนแปลงไปมาก 

เจ้าพิธีส่วนใหญ่ไม่ไปดูสถานที่ให้เจ้าภาพเพียงบอกให้ท่านเจ้าภาพเลือกเอาว่าสะดวกตั้งตรงไหนก็ให้ทำฐานรองศาลไว้ได้เลยในวันทำพิธีอาจารย์ผู้รับทำพิธีจะไปหันหน้าศาลให้ตรงกับทิศที่เป็นมงคลให้ ซึ่งในกรณีนี้

ผมไม่ขอออกความเห็น เพราะว่าอาจารย์ที่มารับตั้งศาลพระภูมิ ย่อมมีภูมิความรู้ไม่เท่ากัน ท่านเจ้าภาพท่านไหนโชคดี ก็จะได้อาจารย์ที่มีความรู้ความสามารถมาทำพิธีให้ และพิธีนั้นก็เชื่อได้ว่าจะมีความศักดิ์สิทธิ์ และถูกต้อง รวมถึงจะส่งผลให้ท่านเจ้าภาพ และธุรกิจของท่านเจ้าภาพท่านนั้น ก็จะมีแต่ความรุ่งเรืองสืบไป แต่ในทางกลับกัน

ถ้าท่านเจ้าภาพไปเจออาจารย์ที่ไม่มีความรู้ความสามารถจริง ผลเสียทั้งหมดที่จะเกิดขึ้นก็จะเกิดขึ้นกับท่านเจ้าภาพที่ไปเชิญอาจารย์ที่ไม่มีความรู้ความสามารถนั้นมาทำพิธีให้  นอกจากตำแหน่งของการตั้งศาลแล้ว สิ่งที่จะขาดเสียมิได้ในการทำพิธีกรรมทุกชนิด คือฤกษ์จุดเทียนชัย หรือฤกษ์เริ่มพิธี

ทางอาจารย์ผู้รับทำพิธีต้องมีความรู้ความสามารถในเรื่องโหราศาสตร์ไทย หรือการออกฤกษ์อย่างแท้จริง เพราตั้งแต่สมัยโบราณ ไม่ว่าจะทำการอะไรต้องมีการออกฤกษ์ หายามที่เป็นมงคลในการประกอบพิธีนั้นๆ                                         

ศาลพระภูมิเจ้าที่ในสมัยโบราณ จะนิยมเข้าไปตัดไม้ในป่า นำดินในสถานที่ที่จะทำการตั้งศาลพระภูมินั้น มาปั้นให้เป็นรูปเทวดา แทนองค์พระชัยมงคล หรือปั้นเป็นรูป คุณตา คุณยายเพื่อคุ้มครองป้องกันดูแลสถานที่นั้นๆ ซึ่งกาลเวลาได้เปลี่ยนแปลงไป

ทำให้มีการนำเอาไม้ที่มีชื่อเป็นมงคลมาใช้แทน เช่น ไม้สัก แสดงถึงการมียศศักดิ์  ไม้มะยม หมายถึงมีคนนิยมชมชอบ ไม้ขนุน หมายถึงไม่ว่าทำอะไร ก็จะมีคนคอยช่วยเหลือเกื้อหนุนอยู่ตลอดเวลา  นำมาแกะเป็นรูปใบเสมาและมีเทวดาอยู่ในแผ่นไม้นั้นเรียกว่า เจว็ด

ส่วนรูปของคุณตา คุณยายนั้น ก็นิยมใช้ดินปั้นเป็นรูปคนแก่สองคน ชายหญิง แล้วนำไปเผาไฟ เพื่อความทนทาน ใช้แทนรูปปั้นดินเหนียวที่ไม่ค่อยทนมากนักพอโดนน้ำก็จะเปื่อยยุ่ยไปได้ง่ายๆ คนสมัยก่อนได้ทำตุ๊กตาแบบนี้ใช้ในศาลพระภูมิเจ้าที่เป็นเวลานานพอสมควร

กาลเวลาผ่านไป ไม้เริ่มหายากมากขึ้น จึงมีการน้ำเอาทองเหลืองมาหล่อเป็นรูปเทวดา มือขวาถือมีดหรือพระขรรค์ มือซ้ายถือถุงเงิน เพราะคนในสมัยนั้นมีความยากจน จึงทำพระชัยมงคล มือซ้ายถือถุงเงินถุงทอง

เพราะเชื่อว่า พระชัยมงคลจะบันดาลเงินทองมาให้กับเจ้าของบ้านที่ตั้งศาลพระภูมิเจ้าที่ไว้สักการะบูชา ส่วนตุ๊กตาคุณตา คุณยายนั้น ก็พัฒนานำเอาสีมาทาให้สวยงามรวมถึงเอากากเพชรมาโรยให้ดูสวยงามมากขึ้น

 ของไหว้ศาลพระภูมินั้น ก็คือเครื่องเซ่นสังเวย ที่เรานำมาถวายให้กับ พระภูมิเทวารวมถึงบริวารของท่าน แบ่งเป็น 2 ชนิด                                                                                                  

  1. คือ ใช้ของไหว้แบบผลไม้ต่าง ๆ
  2. ใช้ของไหว้เป็นแบบอาหารคาวหวาน                                 

สามารถที่จะใช้ได้ทั้ง แบบ ขึ้นอยู่กับความสะดวกและศรัทธาของท่านเจ้าภาพ  ส่วนใหญ่ และบริษัทห้างร้านมักจะไหว้ศาลพระภูมิกันประมาณปีละ 1 ครั้ง เรียกว่า ไหว้ศาลประจำปี จะเป็นพิธีใหญ่ จะมีแขกผู้หลักผู้ใหญ่มาในงานมากมาย  

การไหว้ศาลพระภูมิ บางครั้งก็นำเอาจันทรคติโบราณมาประยุกต์ใช้ด้วย เช่น ในสมัยโบราณนั้นการบวงสรวง จัดเครื่องเซ่นสังเวยถวายให้แก่พระภูมิเทวานั้น จะมีความเชื่อกล่าวขานกันต่อ ๆกันมาว่า ในแต่ละเดือนนั้น พระภูมิเทวา หรือท่านเจ้ากรุงพาลี จะแปลงร่างเป็น ยักษ์ บ้าง เป็นราชสีห์บ้าง เป็นพญานาคบ้าง

แล้วแต่ว่าเดือนไหนท่านจะแปลงร่างเป็นอะไร ( เดือนนี้ที่ว่ามานี้ ไม่ใช้เป็นเดือนสากล แต่เป็นเดือนไทย )  อาจารย์ผู้ทำพิธี ก็ต้องจัดของไหว้ศาลพระภูมิให้ตรงกับที่ท่านได้แปลงร่างมา เพื่อท่านจะได้ถูกใจ เครื่องสังเวยที่จัดมาถวายให้ในวันตั้งศาล