เจ้าที่ ชาวอีสานเคารพ‏

เจ้าที่  ที่พี่น้องชาวอีสานให้ ความเคารพอย่างมาก  เรียกว่า  ผีแถน หรือ  ผีพญาแถน 

ผู้อยู่บนสรวงสวรรค์  ท่านจะคอยดูแลทุกข์สุขของมนุษย์  มีความเชื่อกันว่า  ถ้าผู้ใดเคารพกราบไหว้ท่านด้วยความจริงใจ  ท่านจะดลบันดาลให้ได้  ดังความปรารถนาทุกประการ โดยเฉพาะ  เรื่องขอฝน  พี่น้องชาวอีสานมีความเชื่อว่า  ประวัติความเป็นมาของบุญ  บั้งไฟ  พญาคันคราก
      กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว  มีพระยาแถน  ซึ่งเป็นเทพเจ้าผู้ทรงอิทธิพล  ที่พำนักอยู่  บนสวรรค์และเกลียดชังทุกชีวิต  ที่อาศัยอยู่บนโลกมนุษย์  พระองค์เกลียดชังทุกชีวิตเพราะว่ามวลมนุษย์ไม่เคยมีความพอใจ เมื่อใดที่ฝนตกมนุษย์ก็จะด่า  และเมื่อใดที่ฝนแล้ง  มนุษย์ก็จะด่าอีกเช่นกัน เข้าทำนองที่ว่า ฝนตกหรือฝนแล้งก็ด่า   ดังนั้น พระยาแถนจึงได้สั่งฝนไม่ให้ตกลงมาบนโลกมนุษย์อีก เป็นเวลานานถึง  7  ปี  7  เดือน  7  วัน ก่อให้เกิดภัยแห้งแล้งอันรุนแรง  มวลมนุษย์ได้รับความทุกข์ทรมาน  และล้มตายเป็น จำนวนมาก  ในขณะนั้น พระยาโพธิสาร ซึ่งเป็นเทวดาอีกองค์หนึ่งที่มีอิทธิพล ได้เสด็จลงมายังโลกมนุษย์  และกำเนิดเป็นพญาคันคราก  ด้วยบุญบารมีที่สั่งสม พระองค์ได้มีอิทธิพลต่อเพื่อนพ้องต่างๆ  ทุกคนจึงได้ร้องขอให้พระองค์ช่วยเหลือให้หลุดพ้นจาก    ภัยแห้งแล้ง อันโหดร้ายดังกล่าว
      พญาคันคราก  จึงได้เรียกมาชุมนุมกัน  เพื่อรวมพลังในการต่อสู้  ทั้งมนุษย์และฝูงสัตว์ต่างๆ  กับพระยาแถน  “ มันเป็นวิธีเดียว ที่จะรู้ว่าใครมีพลังอำนาจมากกว่ากัน ” พระองค์สั่งให้  
พญานาคนำกองทัพแรก บุกขึ้นไปสู้กับพระยาแถนบนสวรรค์ จนถูกฟันบาดเจ็บหลายรอย  จากดาบของกองทัพพระยาแถน เหตุนั้นพญานาคจึงมีหงอน  ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
      กองทัพที่สองถูกสั่งให้  ไปต่อสู้กับพระยาแถน  คือ กองทัพของ 
ฝูงตัวต่อ ซึ่งถูกฟันบาดเจ็บด้วยดาบของพระยาแถน  จนเกือบเอวขาด   ด้วยเหตุดังนั้น  ตัวต่อจึงมีเอวที่กิ่ว 
เมื่อมาครั้งที่สาม ฝูงสัตว์ที่ได้รับมอบหมาย ให้พญาคันครากเป็นจอมทัพ โดยพระองค์ได้วางแผนยุทธวิธีรบแบบใหม่เป็นหลายขั้นตอน 
      
ขั้นตอนแรก คือ การส่งกองทัพด้วงขึ้นไป เพื่อกัดกินก้านอาวุธของกองทัพพระยาแถน เช่น ก้านหอก ก้านดาบต่างๆ
      
ขั้นตอนที่สอง คือ การส่งกองทัพแมงป่อง ขึ้นไปซ่อนอยู่ในเสื้อผ้าที่ใช้ใส่สู้รบของกองทัพพระยาแถน พร้อมทั้งส่งตะขาบไปซ่อนอยู่ใต้โต๊ะ  กองฟืน  มุมอับของห้องครัวของกองทัพ   เมื่อพวกเขาเห็นกองทัพ พญาคันครากบุกเข้ามาในสวรรค์  กองทหารของพระยาแถนจึงรีบร้อนสวมใส่เสื้อผ้า  และรองเท้ารบซึ่งได้ถูก  บรรดาแมงป่องที่ซ่อนอยู่ภายในขบกัด  เมื่อพวกเขาคว้าเอาอาวุธ  ก็พบว่าบรรดาอาวุธสู้รบได้หักพัง  เมื่อคว้าหาท่อนฟืน  ก็ถูกตะขาบกัด  กองทหารของพระยาแถนจึงแตกตื่น  และวิ่งหนีอย่างวุ่นวายไปในทิศทางต่างๆ ในขณะนั้น  กองทัพของพญาคันคราก  จึงได้บุกโจมตีพวกเขาจนปราชัย  พระยาแถนได้ถูกบังคับให้  ยอมตกลงตามข้อเรียกร้องต่างๆ ดังนี้
1.  เมื่อพระยาแถนเห็นบั้งไฟ  ยิงขึ้นบนท้องฟ้า ต้องสั่งให้ฝนตกลงมาบนพื้นดิน
2.  เมื่อได้ยินเสียง กบและเขียดร้องนั้น หมายความว่าฝนได้ตกลง มาบนพื้นดินโลกมนุษย์แล้ว 
3. เมื่อได้ยินเสียงว่าว และขลุ่ย ต้องสั่งให้ฝนหยุดตก
  ด้วยเหตุนั้น ในทุกๆ เดือนหก  ชาวลาว  จึงได้จัดบุญบั้งไฟขึ้น  เพื่อเป็นการขอฝน  ภายหลังการปักกล้าดำนาแล้ว  กล่าวคือเมื่อข้าวสุกเหลืองเต็มทั่วท้องนา จึงมีการปล่อยว่าว เป่าขลุ่ยด้วยความสนุกสนาน  

ขอขอบคุณ ที่มา : วารสารไชโยลาว ฉบับที่  21  มิถุนายน  2006 ผู้เขียน : สมสนุก มีชัย     

ผู้แปล : ศุภารัตน์ ชุมตรีนอก/อัมพร ปุญญพัตน์ปีย์วรา