เบี้ยจั่นหนึ่งในวัตถุมงคลใต้ศาล

เบี้ยจั่นหนึ่งในวัตถุมงคลใต้ศาล ที่กรุงศรีอยุธยาถูกพม่าตีแตกครั้งที่สอง                                                                        

ในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้น  จะใช้เบี้ยจั่น  แลกสินค้าแทนเงิน  จนมาถึง  พ.ศ.๒๓๑๐  ที่กรุงศรีอยุธยาถูกพม่าตีแตกครั้งที่สอง   จึงเลิกใช้เบี้ยที่เป็นหอยจริงๆ   หันมาใช้เบี้ยที่ทำ  จากทองเหลือง  ตะกั่ว  หรือ  เงินแทน เป็นการเริ่มต้น  ของการใช้เงินแลกสินค้า  แทนเปลือกหอย   แต่คำว่า  เบี้ย  ก็ยังมีใช้มาจนถึงปัจจุบัน   เช่น คำว่า  เบี้ยเลี้ยง  เบี้ยกันดาร  เป็นต้น     

ยังมีประวัติที่มาของเบี้ย  จากประเทศอินเดียว่า  เบี้ยจั่น  นั้นมีทั้ง  ตัวผู้และตัวเมีย  ตัวผู้เกิดที่อินเดีย  ส่วนตัวเมียเกิดที่ปากีสถาน  ทั้งสองประเทศนี้ในอดีตเป็นประเทศเดียวกัน  ในอดีตประเทศอังกฤษ  ได้เข้ายึดครองประเทศอินเดีย  อยู่เป็นเวลานาน  ท่านคานธีได้เรียกร้องขอ  เอกราชคืน จากประเทศอังกฤษ  ในแบบที่เรียกว่า สัตยาเคราะห์  ( คือไม่ร่วมมือในกฎที่ไม่ยุติธรรม  โดยไม่ใช้กำลัง )  อังกฤษยินยอมคืนเอกราชให้  ใน วันที่   ๑๕  ส.ค. ๑๙๔๗   โดยสมบูรณ์แต่ก็ได้  แบ่งแยกอินเดีย  ออกเป็นสองประเทศ  คือ  อินเดีย  กับปากีสถาน  ซึ่งในพื้นที่  ที่มีคนส่วนใหญ่เป็น ฮินดู  ก็ให้ปกครองอินเดียไป   ส่วนปากีสถานนั้น  ปกครองโดยมุสลิม  เป็นคนส่วนใหญ่ในประเทศ   ทางอินเดียจะไม่ยอมให้ปากีสถานปกครองตนเอง   เพราะว่า  เคยเป็นของอินเดียมาก่อน แต่ชาวมุสลิมซึ่งเป็น  คนส่วนใหญ่ในปากีสถาน  ก็ไม่ยอมที่จะตก  อยู่ใต้การปกครองของอินเดีย  จึงทำให้ทั้งสองประเทศนี้  เกิดสู้รบกัน  จนมาถึงทุกวันนี้   ครูบาอาจารย์ท่านเลย  ถือเอาเคล็ดว่า  ถ้าใครได้นำเอา  เบี้ยจั่นตัวผู้  กับ  เบี้ยจั่นตัวเมีย  มารวมไว้ไนที่เดียวกันได้  ในที่นั้นจะไม่เกิดการทะเลาะเบาะแว้งกันเลย  จะมีแต่ความรักใคร่ปรองดองกันตลอดไป  รวมถึงมีโชคลาภ เงินทอง ไหลมาเทมา กองอยู่ในที่นั้น   เจ้าของสถานที่นั้น  จะไม่มีคำว่า  ตกอับ  จะมีแต่ความสมบูรณ์ พูนผล ร่มเย็นเป็นสุขตลอดไป   ครูบาอาจารย์ท่านจึงกำหนดว่า  ในวัตถุมงคลที่จะใส่ไว้ใต้ศาล   ต้องมีเบี้ยจั่นทั้งตัวผู้และตัวเมีย  รวมอยู่ในวัตถุมงคลอีกหลายชนิด  ที่จะใส่ไว้ใต้ศาลด้วย   ห้ามขาดอย่างเด็ดขาด