การบูชาองค์เทพให้เกิดสุข

    การบูชาองค์เทพให้เกิดสุข

ระยะหลังมานี้ ผู้คนเต็มไปด้วยปัญหาชีวิตรุมเร้า ทั้งปัญหาทางเศรษฐกิจ ปัญหาครอบครัว ปัญหาทางสังคม ทำให้หลายคนขาดที่พึ่งทางใจ ‘ธรรมะของพระพุทธองค์’ ซึ่งเป็นนามธรรมจึงถูกมองข้ามและหันไปยึดถือสิ่งที่เป็นวัตถุนิยมเสีย มากกว่าต้องบูชาอะไรจึงจะเกื้อหนุนและส่งผลดีต่อดวงชะตา?” คือ อีกหนึ่งคำถามที่ต้องตอบเป็นประจำ

แท้ที่จริงแล้วการไหว้พระบูชาวัตถุมงคล หรือแม้แต่การบูชาเทพ ต่างก็เป็นอุบาย ซึ่งสร้างให้เห็นเป็นรูปธรรม นำมายึดเหนี่ยวจิตใจ เพื่อการประกอบกรรมดีทั้งสิ้น ทั้งยังป็นหนทางในการศึกษาธรรมะผ่านทางวัตถุที่เรานับถือ ดังนั้น ความสำคัญไม่ได้อยู่ที่เรา ศึกษาธรรมะโดยตรงจากพระไตรปิฏกได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น และสำคัญที่ว่าเราปฏิบัตินอย่างไร แล้วทำให้ใจเราและคนรอบข้างเป็นสุข

โดยนำสิ่งรอบตัวมาเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจมากกว่า อีกทั้งยังเป็นหนทางหนึ่ง ที่ทำให้เราพ้นทุกข์ได้ แม้จะไม่ใช่หนทางแห่งการพ้นทุกข์โดยตรงก็ตาม แต่ก็เป็นอุบายแห่งการเริ่มต้นประกอบกรรมดี เพื่อเป็นทางนำไปสู่นิพพานในอนาคต ว่าไปแล้วตำนานการสร้างเทพเจ้า ในพุทธศาสนาได้มีมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล โดยทั่วไปจะเป็นคติความเชื่อแบบพุทธศาสนานิกายมหายาน

ซึ่งจะมีการสร้างรูปเทพเจ้าในรูปแบบของพระโพธิสัตว์ เช่น พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร หรือเจ้า แม่กวนอิม เป็นต้น นอกเหนือจากนี้ยังมีอิทธิพลที่เน้นเรื่องราว ของทวยเทพต่าง ๆ ตามคติความเชื่อและความกลัว แล้วจินตนาการในลัษณะขององค์เทพ เช่น องค์เทพแห่งดิน

คือพระแม่ธรณี ส่วนการสร้างในวัดของพุทธศาสนา โดยเฉพาะวัดในเมืองไทยนั้น จะมีความเชื่อของพราหมณ์-ฮินดูเข้ามาผสมผสาน ซึ่งไทยเราได้รับอิทธิพลนี้จากขอม ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ทวยเทพใน ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูเข้ามาผูกติดกับระบบความเชื่อทางพุทธศาสนา แม้ว่าในศาสนาพราหมณ์-ฮินดูจะถือว่าพระพุทธเจ้า

ก็คือเทพองค์หนึ่งซึ่งเป็น ปางหนึ่งของพระนารายณ์ ที่เรียกว่า ปางพุทธาวตาร แต่เมื่อมาเกี่ยวข้องกับ 2 พุทธศาสนาได้มีการยกฐานะของพระพุทธเจ้าเหนือกว่าเทพทุกองค์ เช่น ในตอนประสูติจะปรากฏ ภาพวาดจิตรกรรมฝาผนัง ตามสถานต่างๆ ของเทพ ที่มาชุมนุมอวยพรสรรเสริญกันอย่างมาก นอกเหนือจากนี้ ทางพุทธศาสนายังมีการเพิ่มเรื่องราวของเทพเจ้านอกเหนือจากพราหมณ์-ฮินดู เช่น พระอินทร์ ซึ่งอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ท้าวจคุโลกบาลที่ปกครองสวรรค์ชั้นจตุมหาราชิกา

ผู้คอยคุ้มครองโลกทั้ง 4 ทิศ และทวยเทพอื่นๆ เช่น พระ แม่ธรณี พระ แม่ โพสพ พระคงคา นอกจากนี้ยังมีเทพอีกประเภท ซึ่งปรากฏในวรรณคดีชั้นสูง เช่น รามเกียรติ์ ซึ่งจะเล่าถึงเรื่องราวของเทพต่างๆ วรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผน มีการสร้างเครื่องรางของขลัง และนำคุณวิเศษของเทพแต่ละองค์มากล่าวอ้างอิง เช่น การสักหนุมาน เชื่อว่าจะทำให้มีฤทธิ์เดชคงกระพันชาตรี

 เนื่อง จากวัดถือเป็นศูนย์กลางทางสังคมไทยในสมัยโบราณ ไม่ว่าจะเป็นจิตกรรม ฝาผนัง งานจารึก งานเขียนคัมภีร์ใบลาน ก็ปรากฏเรื่องราวเกี่ยวกับเทพองค์ต่าง ๆ ต่อมาจึงได้สร้างเป็นรูปเคารพ ดังมีให้เห็นในปัจจุบัน เช่น ท้าวมหาพรหม พระอินทร์ พระตรีมูรติ พระพิฆเนศ พระลักษมี พระนารายณ์

ทรงสุบรรณ สถานที่ ที่มีองค์เทพศักดิ์สิทธิ์นับว่า  มีด้วยกันหลายที่ไม่ว่าจะเป็น วัดวิษณุ เขตยานนาวา

วัดพระศรีมหาอุมาเทวี (วัดแขกสีลม)เทวสถาน (โบสถ์พราหมณ์)       แต่ที่อยากแนะนำก็คือ บริเวณ

แยกราชประสงค์ เพราะไปที่เดียวได้สักการะเทพถึง องค์ นับเป็นย่านการค้าและการท่องเที่ยวสำคัญ

แห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ โดยเป็นทั้งของโรมแรมใหญ่ ศูนย์การค้าชั้นนำ ซึ่งในแต่ละวันจะมีคนมาใช้

บริการเป็นจำนวนมาก ดังนั้น สถานประกอบการต่างๆ จึงได้มีการตั้งศาล เพื่อเป็นที่ประดิษฐาน รูป

จำลององค์เทพศักดิ์สิทธิ์ เพื่อความเป็นสิริมงคลและปกป้องคุ้มครองรวมทั้งเป็นที่สักการะของผู้ที่สัญจรไปมาในย่านนี้